เพลงน่ารักจัง

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

"โครงงาน"


โครงงานเรื่อง
systematically  cartoon


จัดทำโดย
1.            นางสาวกมลพรรณ           หาญพล           ชั้น ม.5/1  เลขที่ 6
2.            นางสาวชญานี                   เครือวัลย์          ชั้น ม.5/1  เลขที่ 7
3.            นางสาวพรนิภา                 ม้าจีน               ชั้น ม.5/1  เลขที่ 18
4.            นางสาวมัทนา                   อานามนารถ    ชั้น ม.5/1  เลขที่ 20
5.            นางสาวชลธิชา                 รำพึงวรณ์        ชั้น ม.5/1  เลขที่ 30


เสนอ
อาจารย์  ศิริรัตน์  ปานสุวรรณ

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ง32242)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม  จังหวัดตราด
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17


บทคัดย่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของพวกเราทุกคนโดยเฉพาะการสื่อสารที่เราใช้ในการติดต่อสื่อสารในการทำงาน  การเรียน หรือเพื่อนันทนาการ จากการใช้สื่อเหล่านี้มักมีปัญหาอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นสื่อสาธารณะ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย หากขาดการป้องกัน และเฝ้าระวังอย่างจริงจัง เข้มแข็งเพียงพอ อาจนำมาซึ่งปัญหาการใช้สื่อโดยขาดคุณธรรมจริยธรรม
คณะผู้จัดทำจึงคิดว่าจะจัดทำหนังสือเล่มเล็กที่มีชื่อว่า “ systematically  cartoon” เพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมด้านการใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับเยาวชน และผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางสร้างความตระหนักด้านการใช้อินเตอร์เน็ต มีคุณธรรมจริยธรรม 

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานเรื่อง  “systematically  cartoon” สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาให้คำปรึกษาแนะนำจาก อาจารย์ ศิริรัตน์  ปานสุวรรณ ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง  และช่วยเหลือในเรื่องการตรวจสอบปรับปรุงผลงาน ก่อนนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชน
ขอบขอบคุณคณะครูโรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม ผู้ปกครอง เพื่อนๆ ทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังใจด้วยดีตลอดมา  จนทำให้โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                                             หน้า
บทที่ บทนำ                                                                                                                                               1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                          2-5
บทที่ วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                           6-7
บทที่ ผลการดำเนินงาน                                                                                                                         12-25
บทที่ สรุปผลการดำเนินงาน                                                                                                                   26
ภาคผนวก                                                                                                                                                       27
บรรณนุกรม                                                                                                                                                    28

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของพวกเราทุกคนโดยเฉพาะการสื่อสารที่เราใช้ในการติดต่อสื่อสารในการทำงาน  การเรียน หรือเพื่อนันทนาการ จากการใช้สื่อเหล่านี้มักมีปัญหาอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นสื่อสาธารณะ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย หากขาดการป้องกัน และเฝ้าระวังอย่างจริงจัง เข้มแข็งเพียงพอ อาจนำมาซึ่งปัญหาการใช้สื่อโดยขาดคุณธรรมจริยธรรม
คณะผู้จัดทำจึงคิดว่าจะจัดทำหนังสือเล่มเล็กที่มีชื่อว่า “systematically  cartoon” เพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมด้านการใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับเยาวชน และผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางสร้างความตระหนักด้านการใช้อินเตอร์เน็ต มีคุณธรรมจริยธรรม

วัตถุประสงค์

1.             จัดทำหนังสือเล่มเล็กเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมด้านการใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับเยาวชน
2.             ความพึงพอใจด้านเนื้อหาของผู้อ่าน อยู่ในระดับมาก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้อ่านมีความตะหนักด้านการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมมากยิ่งขึ้น



บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

          ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 
จริยธรรมคอมพิวเตอร์
คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น
เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการกระทำผิดจริยธรรมคอมพิวเตอร์
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ขอบเขตของจริยธรรมคอมพิวเตอร์มี ประเด็น
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
เช่น แอบดูเมล เก็บบันทึกจราจร ข้อมูลลูกค้า หรือ Single Sign On
2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
เช่น Bank Grade Wiki Blog
3.  ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
เช่น ทรัพย์ที่จับต้องและจับต้องไม่ได้ การคุ้มครองสิทธิ
4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
เช่น DoS Security Bandwidth Priority Method

ประเทศไทยกฎหมาย หรือร่างกฎหมาย ดังนี้
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ (บังคับใช้ เมษายน 2545)
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime)
อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ
1. ลักลอบขโมย หรือดักดูข้อมูล
2. ละเมิดสิทธิ
3. แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
4. ก่อกวน หรือทำลายระบบสาธารณูปโภค
5. หลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือลงทุนปลอม
6. โอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีของตน
อาชญากรคอมพิวเตอร์
คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสำคัญ
จำแนกได้ดังนี้
1. Novices คือ พวกมือสมัครเล่น
2. Queer คือ พวกจิตไม่ปกติ
3. Dreamer คือ พวกบ้าลัทธิ
4. Hacker คือ พวกเจาะระบบคอมพิวเตอร์
5. Cracker คือ พวกชอบก่อความเสียหาย
6. Organized Criminal คือ พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน 
7. Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ
การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
1. ใช้รหัสผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password)
2. ใช้วัตถุ เช่น บัตรแม่เหล็ก หรือกุญแจ
3. ใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (Biometric Device) เช่น ลายนิ้วมือ หรือเสียง
4. ระบบเรียกกลับ (Callback System) เช่น ระบบยืนยันตัวตนด้วยอีเมล

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(E-transaction)

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
1) หลักการทั่วไปของพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ยกร่างขึ้นตามกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce 1996) และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Signatures 2001) ของคณะ
กรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law : UNCITRAL) โดยมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ คือ 
2) โครงสร้างของพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ ฉบับนี้แบ่งออกเป็น หมวดหลัก ดังต่อไปนี้
หมวด ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 – มาตรา 25)
หมวด ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 26 – มาตรา 31)
หมวด ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 32 – มาตรา 34)
หมวด ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)
หมวด คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 – 43)
หมวด บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 – มาตรา 46)
3) หลักการรองรับการทำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (หมวด 1)สาระสำคัญคือ การรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ เพื่อให้การดำเนินการใดๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติสามารถทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้และมีผลผูกพันตามกฎหมาย 


บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน

1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์
2. ศึกษาและค้นคว้าที่เกี่ยงข้องกับเรื่องที่สนใจ
3. จัดทำโครงร่างโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์
4. ปฏิบัติจัดทำโครงงาน
5. ปฏิบัติจัดทำหนังสือเล่มเล็ก
6. นำเสนอผลงาน
การทำหนังสือเล่มเล็ก

เครื่องมือและอุปกรณ์

1. กระดาษ
2. ดินสอ
3. ยางลบ
4. ปากกา
5. สีไม้
6. ไม้บรรทัด
7. คัตเตอร์ 

แนวทางการดำเนินงาน

1. วางแผน จัดวางโครงเรื่อง
2. แต่งเรื่อง
3. จัดเตรียมอุปกรณ์
4. จัดทำหนังสือเล่มเล็ก
5. นำเสนอ


บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน





รูปที่ 
1                                                         รูปที่ 2

 




                                                 
รูปที่ 3                                                                      รูปที่ 4


 




          




รูปที่ 5                                                                       รูปที่ 6
                

 






รูปที่ 7       รูปที่ 8
          
รูปที่ 9                                                       รูปที่ 10
 


รูปที่ 11                                                      รูปที่ 12


 






                                                   


รูปที่ 13


แบบประเมิณ

ตอนที่ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนเพศ
  • ชาย
  • หญิง
ระดับชั้น
  • ม.3
  • ม.4
  • ม.5
  • อื่นๆ
ตอนที่คำถามคุณเข้าไปดูเว็ป http://www.slideshare.net/ssuser18f361/ss-29105762 บ่อยหรือไม่
  • เข้าเป็นประจำ
  • ค่อนข้างบ่อย
  • นานๆ ครั้ง
  • ไม่เคยเข้า
1. ความพอใจในงานของเรา
  • มากที่สุด
  • ปานกลาง
  • น้อยที่สุด
2. การออกแบบตัวการ์ตูนของเรามีความเหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่
  • มากที่สุด
  • ปานกลาง
  • น้อยที่สุด
3. รูปแบบ ขนาด และสีของตัวหนังสือ ชัดเจน สวยงาม อ่านง่าย
  • มากที่สุด
  • ปานกลาง
  • น้อยที่สุด
4. การเรียบเรียงเนื้อหาเรียงลำดับ เข้าใจง่าย
  • มากที่สุด
  • ปานกลาง
  • น้อยที่สุด
งาน http://www.slideshare.net/ssuser18f361/ss-29105762 ของเราน่าอ่านหรือไม่
  • น่าอ่าน
  • ไม่ค่อยน่าอ่าน
5. ภาพประกอบชัดเจน และสอดคล้องกับเนื้อหา
  • มากที่สุด
  • ปานกลาง
  • น้อยที่สุด
6. ความเหมาะสมการใช้สี แบบตัวอักษร และภาพประกอบในการ์ตูน
  • มากที่สุด
  • ปานกลาง
  • พอใช้
  • น้อยที่สุด
7. เนื้อหาในการ์ตูนตรงกับความต้องการของนักเรียน
  • มากที่สุด
  • น้อยที่สุด

จำนวนคนที่เข้ามาทำแบบประเมิณ
แต่ยังไม่ได้สรุปออกมาเป็น %

ตอนที่ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
ชาย
8
หญิง
8
ระดับชั้น
ม.3
2
ม.4
1
ม.5
8
อื่นๆ
5
ตอนที่คำถาม
ค่อนข้างบ่อย
3
นานๆ ครั้ง
4
ไม่เคยเข้า
1
เข้าเป็นประจำ
8
1. ความพอใจในงานของเรา
ปานกลาง
3
น้อยที่สุด
1
มากที่สุด
12

3. รูปแบบ ขนาด และสีของตัวหนังสือ ชัดเจน สวยงาม อ่านง่าย
ปานกลาง
3
น้อยที่สุด
1
มากที่สุด
12
4. การเรียบเรียงเนื้อหาเรียงลำดับ เข้าใจง่าย
ปานกลาง
4
น้อยที่สุด
0
มากที่สุด
12
งาน http://www.slideshare.net/ssuser18f361/ss-29105762ของเราน่าอ่านหรือไม่
น่าอ่าน
16
ไม่น่าอ่าน
0
5. ภาพประกอบชัดเจน และสอดคล้องกับเนื้อหา
ปานกลาง
4
น้อยที่สุด
0
มากที่สุด
12
6. ความเหมาะสมการใช้สี แบบตัวอักษร และภาพประกอบในการ์ตูน
ปานกลาง
5
น้อยที่สุด
0
มากที่สุด
11

7. เนื้อหาในการ์ตูนตรงกับความต้องการของนักเรียน
ปานกลาง
0
น้อยที่สุด
0
มากที่สุด
16

แบบประเมิณที่คิดออกมาเป็น แล้ว





บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน

สรุปผลการศึกษา
การทำหนังสือเล่มที่มีชื่อว่า  systematically  cartoon”   เป็นการสร้างสื่อเพื่อเป็นแนวทางในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง มีจรรยาบรรณในการใช้ อีกทั้งยังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินที่ได้อ่านการ์ตูนที่มีภาพที่สวยงาม และเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน  สอดแทรกความรู้ด้านคุณธรรจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ต
จากการที่ทำหนังสือเล่มเล็กเรื่อง  “systematically  cartoon” พบว่าสามารถนำเผยแพร่ให้ผู้อื่นอ่านและเข้าใจได้จริง  และยังเป็นการให้ผู้อื่นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
1.             การทำหนังสือเล่มเล็กจะต้องวาดภาพและจัดทำเนื้อหาให้น่าสนใจ โดยใช้คำที่กระชับเข้าใจง่าย  ผู้อ่านจะได้สนใจในหนังสือเล่มเล็กที่จัดทำขึ้น
2.             เนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นควรมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ ไม่ซ้ำเดิม และใกล้เคียงกับความเป็นจริงกับการดำรงชีวิตของเยาวชน
ปัญหาและอุปสรรค

1. เวลาในการจัดทำไม่เพียงพอ
2. การเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสือค่อนข้างสับสน
3. ระยะทางในการเดินทางของสมาชิกในกลุ่มเพื่อมาทำงานค่อนข้างไกล
วิธีการแก้ปัญหา

1. ประชุมเพื่อคิดวางแผนจัดทำเนื้อหา

2. แบ่งงานให้สมาชิกในกลุ่มกลับไปทำที่บ้านเพื่อเป็นการประหยัดเวลา

ภาคผนวก




บรรณนุกรม

http://attorneysworkproduct.blogspot.com/2008/07/internal-memo-010-laws-on-e-transaction.html [เข้าถึงวันที่ 11 ก.ย. 56]
http://www.dmc.tv/pages/ [เข้าถึงวันที่ 11 ก.ย. 56]

ขอขอบคุณ : 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น